นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทีม PUMBA88 เป็น 1 ใน 9 ทีมที่ ผ่านเข้ารอบในระดับชาติ ในการแข่งขัน Huawei ICT Competition Thailand 2024-2025 โดยมีคะแนนเป็นอันดับ 1 (1696) ใน Network Track
การแข่งขัน Huawei ICT Competition Thailand 2024-2025 มีทั้งหมด 3 tracks  คือ Network, Cloud, Computing แต่ละ track  จะมีเพียง 3 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบในระดับชาติ  (National) 
ทีมที่ผ่านเข้ารอบคือทีมที่มีคะแนนรวมมากกว่า 1000 คะแนน และจํานวนสมาชิกทีมมีคุณสมบัติตรงตามข้อกําหนด 
ทีม PUMBA88 ประกอบด้วยสมาชิกดังต่อไปนี้
1. นายจักรกฤษ ศรีงาม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รหัสนักศึกษา 6410110062
2. น.ส. เจนนรินทร์ เพียรจิตต์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รหัสนักศึกษา 6410110082
3. นาย อุดมศักดิ์ ขวัญทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ รหัสนักศึกษา 6410110609
467341092 993580836124801 346616729280079248 n
กำหนดการแข่งขัน
467330673 993580829458135 7677407159592314882 n
 

ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567  ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต และ ผศ.ดร.สุกณา เจริญปัญญาศักดิ์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัล Thailand Smart City Expo 2024 ด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) ในระดับดี จากนางปิยนุช วุฒิสอน รักษาการราชการแทนรองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในงาน Thailand Smart City Expo 2024 

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดโครงการ Thailand Smart City Expo 2024 เพื่อเฟ้นหาผลงานจากหน่วยงานที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาดมาเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและบริหารจัดการเมือง เพื่อส่งเสริมและยกย่องเมืองที่มีการนำเทคโนโลยีและแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ในระบบบริการ ผลการคัดเลือกมีผู้ได้รับรางวัลจำนวน 32 ผลงาน ใน 7 ด้านตามนิยามของเมืองอัจฉริยะ ประกอบด้วย รางวัลดีเลิศ จำนวน 6 ผลงาน และระดับดี จำนวน 26 ผลงาน

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ส่งผลงาน Smart Resilient and Livable Campus เข้าร่วมประกวด และได้รับรางวัล Thailand Smart City Expo 2024 ด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) ในระดับดี โดยมี รศ. ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมเข้ารับรางวัล ภายในงาน Thailand Smart City Expo 2024 โดยมี นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน และนางปิยนุช วุฒิสอน รักษาการราชการแทนรองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นผู้มอบรางวัล ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 ณ ฮอลล์ 4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

ผลงาน Smart Resilient and Livable Campus หรือ Smart Campus โดย ผศ. ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์กายภาพ วิทยาเขตหาดใหญ่ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล เป็นหัวหน้าโครงการ   มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ ให้สามารถช่วยสนับสนุนงานการบริหารจัดการพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ให้เป็นตัวอย่างเมืองน่าอยู่ สะอาด ปลอดภัย และเป็นเมืองสีเขียว ตามแนวทางของวิทยาเขตหาดใหญ่ ที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยและใช้บริการมีความพึงพอใจ และสามารถเป็นต้นแบบของพื้นที่เมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ ให้กับในอีกหลายพื้นที่เมืองอัจฉริยะของประเทศ
 
 

ผู้บริหารและคณาจารย์จาก Kolej Kommuniti Kelana Jaya ประเทศมาเลเซีย เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และประชุมหารือความร่วมมือในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 

คณะผู้เยี่ยมชมประกอบด้วย

1. Sr ts. Fazrul idzam bin zainal abidin Director
2. Ruhaimi b mustapa Lecturer
3. Mohd shaifullizam bin ibrahim Lecturer
4. Tamil chelvi a/p vadivelu Lecturer
5. Siti munaliza binti moharad Lecturer
6. Azwasuhaizi binti abu bakar Lecturer

 

86

1

5881

5883

5885

5886

5887

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระดับอุดมศึกษาในการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2024 โดย นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1 มีคะแนน เป็นอันดับ 2 ประเภทบุคคล และประเภททีม นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ ร่วมกับ นายสรวิศ สุขการณ์ ชื่อทีม  S1EEP มีคะแนนรวม เป็น อันดับ 5  ได้รับรางวัลชมเชย 

การจัดการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย Thailand Cyber Top Talent 2024 เป็นงานแข่ง Capture the Flag (CTF) ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  โดยมีทีมจากผู้เข้าแข่งขันทั้งประเทศรวม 353 ทีม ถ่ายทอดสดผ่านทาง เพจ NCSA Thailand

การแข่งขัน รอบชิงชนะเลิศ จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยมีทีมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 2 ทีม จากผู้เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในระดับอุดมศึกษาจำนวน 10 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือก คือ ทีม S1EEP  และ ทีม คิดยากจังเลยยยยยยยยย ผ่านรอบคัดเลือก  เป็นตัวแทนภาคใต้ ระดับอุดมศึกษา เข้าไปแช่งขันรอบรอบชิงชนะเลิศ (onsite)  นี้

สมาชิกของทีมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มีดังนี้

  • ทีม  S1EEP นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ และ นายสรวิศ สุขการณ์ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1
  • ทีม คิดยากจังเลยยยยยยยยย นายเชษฐมาส ตั้งสุขสันต์ นายศุภกิตติ์ พรหมดวง และ นางสาวณัฏฐ์ธารณ์ ขวัญหวาน นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 

compensationaward

ดูผลการแข่งขันทั้งหมดได้ที่นี่ 

 Final

 

462784057 561731876246729 5656324500066834402 n462865699 561732319580018 6215696369269754203 n

463097733 561731342913449 1396028341644619443 n

 

หน่วยงานจัดการแข่งขัน

Thailand Cyber Top Talent 2024 จัดการแข่งขันโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้กลายเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเป็นการสร้างแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น และผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศยังมีสิทธิเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2024

รูปแบบและกติกาการแข่งขัน

การแข่งขันจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

ระดับมัธยมศึกษา (Junior)
ระดับอุดมศึกษา (Senior)
ระดับประชาชนทั่วไป (Open)

รูปแบบการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 รอบ

  • รอบที่ 1 รอบคัดเลือก เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์
  • รอบที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Attack the virtual World คือผู้เข้าแข่งขันต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลอง ด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องลอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี
 โดยคะแนนของทีมจะรวมจากผู้เข้าแข่งขันในทีม ๆ ละไม่เกิน 3 คน
 
ในการนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มอบทุนการศึกษา จํานวน 12,000 บาทให้กับนักศึกษาทั้ง 2 คน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 โดยผู้มอบรางวัลคือ ผศ.ดรง นิคม สุวรรณวร 
466931011 1086410246610679 4226034850608104313 n
467186365 1086410226610681 8561550581164924605 n
467186367 1086410319944005 9079445810581184416 n
467016350 1086410336610670 2287517054828719014 n
 
 
 
 

ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2567 บริษัทหัวเหว่ย นำโดยคุณ Sarawut Wuttijariyakul, Cloud Developer Operation Specialist และคุณ Kasittha Saisornphitak, Huawei ICT Academy Manager นำเสนอกิจกรรมการแข่งขัน Huawei Developer Competition และ Huawei ICT Competition ให้กับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ 3 ชั้นปี (2, 3 4) 

158173

158175

158178

158180

158181

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยและได้รับทุนในการพัฒนาผลงาน เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบภูมิภาค ภาคใต้ ในโครงการเส้นทางสู่นวัตวาณิชย์ ครั้งที่ 12 (Research to Market : R2M#12) ภายใต้การดูแล และสนับสนุนจากอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 
ทีม SparkHub: 
นักศึกษา:
นางสาวภูริชญา ขุนแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
นายป่าปัญญา สิริวัฒนาวรกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
นางสาวอรรถยา ชาติยิ่งเจริญ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ
นางสาวชัชชญา แก้วพุฒ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ
นางสาวนุชรินทร์ ตาเยะ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ
 
ผลงานวิจัย: หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพกล้ามเนื้อแขน
นักวิจัย: 
ผศ.ดร. ปรมินทร์ เณรานนท์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์
ผศ.ดร. อริศรา ร่มเย็น เณรานนท์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสคร์
ผศ.นพ. สุทธิพงษ์ ทิพชาติโยธิน อาจารย์คณะแพทยศาสตร์

กำหนดการ
วันที่ 14-15 กันยายน 2567 กิจกรรม Bootcamp เพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถนำผลงานวิจัยไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ ณ ห้อง SEA SUN อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
วันที่ 28 กันยายน 2567 P-SEDA อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรม Pitching Day R2M 2024 รอบคัดเลือกระดับมหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวาณิชย์ ครั้งที่ 12 (Research to Market : R2M#12)  
วันที่ 4 ตุลาคม 2567 ประกาศผลทีมที่ได้ไปต่อในรอบการแข่งขันระดับภูมิภาค ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ:
• ศ.ดร.นพ.สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
• อาจารย์วรสันติ์ โสภณ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
• คุณภัทราภรณ์ กันยะมี ผู้ก่อตั้งบริษัท เดอะลิตเติ้ล ออนเนี่ยน แฟคทอรี่ จำกัด

bootcamp

researchtomarket

pitchingday

committee

Page 1 of 22
Go to top