pichaya

- รศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มอ.วิทยาเขตภูเก็ต
- นายรังสิมันตุ์ กิ่งแก้ว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
- นายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล DEPA
- Assistant Professor Justin Paulsen มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล
- นายพูลศิริ วงศ์วิเศษกิจ Senior ISV Account Manager บริษัทอะเมซอน เว็บ เซอร์วิส
- นายวีระเชฏฐ์ ไวทยานุวัตติ Manager, Cyber Security, Bangkok Airways
- คุณกนกวรรณ บุญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ บริษัท ไทย ดิจิทัล แพลตฟอร์ม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
- ผศ.ดร. วรรณรัช สันติอมรทัต อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล และประธานหลักสูตร AI and System Engineering (AISE) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต








คณะครูและนักเรียน IDN Boarding School ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายชั้นนำจากประเทศอินโดนีเซีย มุ่งเน้นด้านการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) จำนวน 77 คน เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์๋ วันพฤหัสที่ 22 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568
ทางสาขาวิชาฯ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกของสาขาวิชาฯ อย่างใกล้ชิด
รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิศวกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร หัวข้อ Digital Transformation Ethical and Security Issues ในการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. 2568 ของ สมาคมนวัตกรรมการพยาบาลและสุขภาพ หรือ Nursing Innovation and Health Association (NIHA) โดยจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 11.00-12.00 น. ผ่านการประชุมซูมออนไลน์
โครงการส่งเสริมการลงทุนหรือประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระยะการก่อตั้งธุรกิจ ในรูปแบบแนวคิดธุรกิจ (Idea Stage) ได้เป็น Finalist ได้รับเงินทุนสนับสนุน 200,000 บาท
ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จัดกิจกรรมการตัดสินดิจิทัลสตาร์ทอัพ ระยะ Idea Stage รอบ Final Pitching และกิจกรรมต่อยอดการสร้างเครือข่ายระดับประเทศ (Networking) พร้อมด้วยงานแถลงข่าวการสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพผ่านมาตรการ depa Digital Startup Fund ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สำนักงานใหญ่) ซอยลาดพร้าว เขตจตุจักร 10 โดยมี นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล depa เป็นประธานเปิดกิจกรรม และ ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นเข้าร่วมกิจกรรม โดยปีนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมตัดสินดิจิทัลสตาร์ทอัพ ระยะ Idea Stage ทั้งสิ้น 120 ทีมจาก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ก่อนคัดเหลือ 45 ทีมผ่านเข้าสู่รอบ Final Pitching ในครั้งนี้ และคัดเลือกทีมที่มีศักยภาพโดดเด่น 26 ทีมได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก depa ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund)
โครงการ Watermatic – ระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะสำหรับโรงแรม ผ่านเข้ารอบ Finalist ในโครงการส่งเสริมการลงทุนหรือประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระยะ Idea Stage พร้อมได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 200,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบและต่อยอดสู่การใช้งานจริงในภาคธุรกิจ
ทีม Watermatic ประกอบด้วย
• CEO: นางสาวพิชชาภัทร์ แซ่หลี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
• CTO: นายสิริพงษ์ โชติรัตน์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
• COO: นางสาวนันท์นภัส ระวังงาน วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ สาขาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
















Ts. Inv. Dr. Shelena Soosay Nathan, Senior Lecturer, จาก Department of Information Technology, Center for Diploma Studies, Universiti Tun Hussein Onn Malaysia (UTHM), Jorhor, ประเทศมาเลเซีย นำคณะนักศึกษา เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และประชุมหารือความร่วมมือในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 9.00-11.30 น.
ทั้งนี้ UTHM และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มี MOA (Memorandum of Agreement) ร่วมกันในหลักสูตร Double Degree ในระดับปริญญาโทและเอก
ศูนย์อาลีบาบาคลาวด์อาคาเดมี่ จัดบรรยายออนไลน์และการสอบประกาศนียบัตร “ACA Cloud Security Engineer” ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และผู้สนใจ
โดย ดร.ปภณ ยงพิศาลภพ ผู้อำนวยการศูนย์อาลีบาบาคลาวด์อาคาเดมี่ ประเทศไทย และ Training Advisor for Alibaba Cloud International เป็นวิทยากร บรรยายทางซูมออนไลน์ในวันที่ 22 และ 24 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 9.00-16.00 น. และมีกำหนดการดังนี้
โดยทำแบบทดสอบความรู้หลังการเรียน และรับใบประกาศนียบัตร (Alibaba Clouder Certificate)
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติ “It's All About the Computer Engineer” สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ครั้งที่ 1 สอนโดยคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค และนักศึกษาของสาขาวิชา จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21 - 25 เมษายน 2568 ณ ห้องปฏิบัติการประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรที่ 1 Easy Robot
เนื้อหา การบังคับหุ่นยนต์เบื้องต้น การต่อประสานเซ็นเซอร์กับการทำงานของหุ่นยนต์เบื้องต้น การบังคับหุ่นยต์ตามภาระกิจ
วิทยากร ผศ.ดร. สหพงศ์ สมวงค์
หลักสูตรที่ 2 Unity Low-Code Game Maker
เนื้อหา พื้นฐานการพัฒนาเกมด้วยยูนิตี้ การสร้างเกมแบบ Low Code การบังคับให้วัตถุให้เคลื่อนไหว
วิทยากร ผศ.ดร. กฤษณ์วรา รัตนโอภาส
หลักสูตรที่ 3 Cyber$ecu®ity
เนื้อหา ความมั่นคงไซเบอร์ การเข้ารหัส การถอดรหัส การหาช่องโหว่ การป้องกันช่องโหว่
วิทยากร รศ.ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ ผศ. ธัชชัย เอ้งฉ้วน ดร.ธนาธิป ลิ่มนา นายรุ่งโรจน์ แซ๋จุ้ง นายพิพัฒน์ พิพิธพัฒนพงศ์
หลักสูตรที่ 4 Introduction to Python Programming
เนื้อหา การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอน เงื่อนไข ทางเลือก วงวน อัลกอริทึม
วิทยากร อ.เสกสรรค์ สุวรรณมณี
หลักสูตรที่ 5 Introduction to Prompt Engineer and Generative AI
เนื้อหา เอไอ การสื่อสารกับระบบปัญญาประดิษฐ์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ด้านการสร้างข้อมูล การใช้ประโยชน์ ผลกระทบ
วิทยากร ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์
ทั้งนี้ นักศึกษาจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เป็นผู้ช่วยสอนและจัดกิจกรรมสัมพันธ์ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 74 คน
หลักการและเหตุผล
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีภารกิจจัดการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ให้มีมาตรฐานระดับสากลโดยมาตรฐานการศึกษา AUN-QA และ ABET เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาในหลักสูตรที่สาขาวิชาได้ดำเนินการในปัจจุบัน สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จึงมีความประสงค์เปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดประสบการณ์เกี่ยวกับสายอาชีพภายในหลักสูตรฯ บรรยากาศการเรียนการสอน ห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติติการต่างๆ ผ่านเนื้อหารายวิชาในหลักสูตร และลงมือปฏิบัติติการ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ก่อนที่นักเรียนจะต้องตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- รับฟังข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและทบทวนประกาศฯ
- ส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญมีความพร้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์
- สร้างความสอดคล้องกับกฎหมาย เพิ่มขีดความสามารถด้านการควบคุมความปลอดภัยไซเบอร์




นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ร่วมจัดงานค่ายหล่อ(ว์)เกียร์ INTANIA ครั้งที่ 11 ในระหว่างวันที่ 1 - 7 เดือนเมษายน พ.ศ. 2568 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
โดยค่ายดังกล่าวรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ สายอาชีวะหรือเทียบเท่า จำนวน 150 คน เพื่อเยี่ยมชมสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
Exclusive Class Plus+
กิจกรรมพัฒนาทักษะ Soft Skills ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เช่น ทักษะการสื่อสาร (Communication), ภาวะผู้นำ (Leadership), การทำงานเป็นทีม (Teamwork), (Problem solving) และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ถ่ายทอดผ่านกิจกรรม 5 บทเรียน
- Intro to ENG PSU
- Ice-cream wooden bridge
- Engineering Innovation Standard
- Drama and Problem
- TPAT3
Ultimate Simulation Class
กิจกรรมค้นหาตัวเองกับรายวิชาเฉพาะทางวิศวกรรม สัมผัสบรรยากาศการเรียนการสอนจริงภายในคณะ
- Basic Drawing
- Basic Python
- Basic Embedded System
รายละเอียด : https://www.camphub.in.th/lgi-camp-11/