pichaya

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดบรรยายหัวข้อ Explainable AI and Content Security in Healthcare Applications and Beyond โดย Dr. Zulfiqar Ali ซึ่งเป็น Assistant Professor in AI for Decision Making จาก School of Computer Science and Electronic Engineering, University of Essex, สหราชอาณาจักร ณ ห้องประชุมดงยาง 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวันที่ 18 เมษายน 2567 10.00-11.30 น.
บทคัดย่อ (Abstract)
Explainable AI (XAI) refers to the development of AI systems whose actions and decisions can be easily understood by humans. In the context of health applications and beyond, explainability is crucial for ensuring transparency, accountability, and trust in AI systems, especially when they are involved in making decisions that can impact human lives.
In health applications, such as medical diagnosis or treatment recommendation systems, explainable AI can help healthcare professionals understand why a certain diagnosis or treatment suggestion was made by the AI system. This understanding is essential for doctors to trust and rely on AI-driven insights and recommendations in their decision-making process. It also allows them to verify the validity of AI-generated conclusions and potentially identify errors or biases in the system.
Content security is another critical aspect, particularly in health applications where sensitive patient data is involved.
In this talk, both explainable AI and content security will be discussed in the context of vocal fold disorder assessment (10.1109/ACCESS.2017.2680467, https://doi.org/10.1016/j.jvoice.2015.08.010), zero-watermarking for medical signals (audio and image) (https://doi.org/10.1016/j.future.2019.01.050, https://doi.org/10.3390/electronics11050710), and imposter detection in forged audio (https://doi.org/10.1016/j.compeleceng.2021.107122).
ดูลิงค์รายละเอียดได้ที่ https://sites.google.com/coe.psu.ac.th/dr-zulfiqar-alis-seminar/
รับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ Facebook Live: https://fb.watch/rxUo80luHJ/?mibextid=rS40aB7S9Ucbxw6v
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 นำเสนอโครงงานย่อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดวิชา 240-371 ชุดวิชานักพัฒนาระบบไอโอที (IoT System Developer Module) ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2566 ในวันที่ 21 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567
โดยอาจารย์ผู้สอนประจำชุดวิชา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุณา เจริญปัญญาศักดิ์ การจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยทฤษฎีปฎิบัติการ และ โครงงานย่อย (small project) และได้เชิญ บริษัทเอกชน และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมเป็นกรรมการ ในการตัดสินชิ้นงาน ทั้ง 12 ชิ้นงาน
ทางผู้สอนได้ให้เวลาในการทำงานชิ้นนี้ ประมาณ 1 เดือน นักศึกษามีความตั้งใจ ในการทำชิ้นงาน และได้รับคำชมจากทางบริษัทเอกชน ตัวอย่างผลงาน เช่น เครื่องให้อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องพยากรณ์อากาศ หุ่นยนต์ทำความสะอาด ตู้หนีบตุ๊กตา เครื่องวัด และเตือนการดื่มน้ำประจำวัน และถังขยะอัตโนมัติ เป็นต้น
คุณโกสินทร์ พัตรานนท์ วิศวกรอาวุโสจาก TOYOTA TSUSHO NEXTY ELECTRONICS (THAILAND) หรือ NETH ให้เกียรติบรรยายออนไลน์เรื่อง Toyota Vehicle OS ให้กับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 และผู้สนใจ ในชุดวิชา วิศวกรสถาปัตยกรรมที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (Software-defined Architecture Engineer Module) และผู้สนใจทั่วไป ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 8.00-11.00 น.
คุณพีรวิชญ์ เจนพิทยา ศิษย์เก่าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ DevOps Engineer จากบริษัท Innovative Extremist (INOX) Co., Ltd. เป็นวิทยากรให้กับนักศึกษาในชุดวิชาวิศวกรสถาปัตยกรรมที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ 240-229 Software-defined Architecture Engineer Module จำนวน 77 คน และผู้สนใจทั่วไป โดยบรรยายในหัวข้อ Hidden Costs of Cloud Computing .ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 10.00-11.00 น.
คุณพีรวิชญ์ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพดังต่อไปนี้
• Cisco Intro to Packet Tracer and IOT.
• AWS cloud practitioner
• AWS solution architect
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 24 คน เดินทางไปทัศนศึกษาเยี่ยมชม CMKL University และบริษัท Touch Technologies ที่กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
การทัศนศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 240-371 ชุดวิชานักพัฒนาระบบไอโอที (IoT System Developer Module) โดยอาจารย์หัวหน้าโครงการทัศนศึกษาคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุณา เจริญปัญญาศักดิ์ และมีคุณไพบูลย์ บุญถวิล ช่างอิเล็กทรอนิกส์ และคุณวิมล คำจันทร์ นักกิจการนักศึกษาเป็นทีมงานร่วมเดินทางด้วย
CMKL ตั้งอยู่ที่เขตลาดกระบัง เป็นความร่วมมือระดับบัณฑิตศึกษาระหว่าง Carnegie Mellon University (CMU) จากสหรัฐอเมริกา และ King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (KMITL) โดยเปิดหลักสูตรแบบ Double Degree ในสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในระดับปริญญาโทและเอก และ Single Degree ทางด้านปัญญาประดิษฐ์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยมีความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำเช่น Thai Beverage, PTTEP, ฺBetagro, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, SEC, ETDA, KBTG, AIS และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)
บริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด อยู่ที่เขตห้วยขวาง เป็นบริษัทที่่ให้บริการ Solutions ทางด้านไอทีและโทรคมนาคม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออก Department of Export Promotion (DEP) Thai Software Export Promotion (TSEP) สำนักงานส่งเสริมอุตสหากรรมซอฟต์แวร์ (Software Industry Promotion Agency (SIPA)















สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดสัมมนาพิเศษ เรื่อง Introduction to Quantum Networking ในโครงการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดย วิทยากร คือ นายร่มธรรม ศรีพจนารถ นักศึกษาระดับปริญญาเอก นักเรียนทุนรัฐบาล จาก Western Sydney University ประเทศออสเตรเลีย
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดโครงการ Bar Camp Songkhla ครั้งที่ 8 เพื่อเปิดเวทีให้กับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรและบุคคลภายนอก นักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาทางเทคนิคในด้านต่างๆที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พร้อมรับข้อมูลวิทยาการใหม่ ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567 ตั้งแต่เวลา 8.30-18.30 น. ณ ห้องประชุม EILA สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (ตึก LRC) โดยเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน ในการนี้มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน แซ่ว่อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
- อิมพอร์ต สตาร์ จำกัด
- บริษัท เน็กซ์ฮอป จํากัด
- บริษัท อัลกอริตี้ จำกัด
- บริษัท ที.ที. ซอฟแวร์ โซลูชั่น จำกัด
- บริษัท บนเมฆ จำกัด
- บริษัท เปาคลาวด์ จำกัด
- บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็กซ์ตรีมิสต์ จำกัด
- บริษัท ไบต์อาร์ค จำกัด
- บริษัท ซคูลเมท เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
- บริษัท โลเร็มบอร์ด จำกัด
- บริษัท เทเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด
- สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (EILA) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 3 คน พร้อมอาจารย์ผู้ควบคุมทีม ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติด้วย Robomaster ประจำปีพ.ศ. 2567 หรือ ROBOMASTER 2024 จัดโดย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ร่วมกับ บริษัท GAMMACO Thailand ณ หอประชุมภักดีดำรงค์ฤทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2567
รายชื่่อผู้เข้าร่วมแข่งขัน
1. นายภูมินทร์ สาทิพย์จันทร์ รหัสนักศึกษา 6510110363
2. นายสิทธา สหธรรม รหัสนักศึกษา 6510110488
3. นายปวณนนท์ พานิช รหัสนักศึกษา 6510110269
ชื่อทีม TheLastOfCoding
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์
วัตถุประสงค์ของงาน
ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความต้องการ เทคโนโลยีของหุ่นยนต์ AGV ได้ถูกนำมาใช้จัดการคลังสินค้าให้การจัดการมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้ ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีกิจกรรมที่มีรูปแบบของการบูรณาการศาสตร์ทางด้านต่างๆ เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ เข้าด้วยกันทั้งในการเรียนการสอนภายในและนอกห้องเรียน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือประยุกต์เข้ากับการเรียนการศึกษา
คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
• รุ่นมัธยมปลาย และอาชีวศึกษา นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลาย หรือ ระดับอาชีวศึกษา(ปวช) จำนวน 2-3 คน ต่อ 1 ทีม
• รุ่นอุดมศึกษา นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 2-3 คน ต่อ 1 ทีม (ไม่อนุญาตให้ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมในการแข่งขัน)
• ครู อาจารย์ ผู้ควบคุมทีม 1 ท่าน หมายเหตุใน 1 โรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย สามารถสมัครได้ไม่เกิน 2 ทีม
รูปแบบการแข่งขัน
วันแรก อบรมการเขียนโปรแกรมให้ผู้เข้าแข่งทุกทีมก่อน
วันที่สอง ประกาศกติกาและให้ทุกทีมทำการซ้อมกับสนามแข่งขันจริงก่อนการแข่งขัน
วันที่สาม วันแข่งขัน (ทุกทีมจะมีเวลาซ้อมก่อนเริ่มการแข่งขันจริง)
ทีมต้องเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Robomaster เพื่อเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ และต้องทำคะแนน ให้ได้มากที่สุดตามกติกาที่ผู้จัดกำหนด
ลิงค์วิดีโอบรรยายการงาน ที่นี่